วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

If-Clause


If-Clause► IF PRESENT SIMPLE ,                      A) PRESENT SIMPLE
    SUBJECT + V.1                               SUBJECT + V.1
                                                        ธรรมชาติ เป็นจริงเสมอ เกิดเป็นสันดาน
                                                        B) IMPERATIVE
                                                        V.1 / DON’T V.1
                                                        สั่งว่า ถ้าอยากจะ____ ให้ทำอย่างว่าก่อน
                                                         C) FUTURE SIMPLE
                                                         SUBJECT + WILL V.1
                                                         มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นได้ ในอนาคต
► IF PAST SIMPLE ,                             SUBJECT + WOULD V.1
    SUBJECT + V.2
สมมติเหตุการณ์ขึ้นมา ไม่เป็นจริงในตอนที่พูด เช่น ถ้าฉันเป็นเธอ ฉันจะ… “PRESENT UNREAL” มโนหรือคิดเพ้อเจ้อเพ้อฝันนั่นเอง
*VERB TO BE ที่ตามหลัง IF ต้องผันเป็น “WERE” ไม่ว่าประธานจะเป็นตัวไหนก็ตาม
# ละ IF โดยเอากริยา WERE มาช่วย : “V.2 = WERE TO V.1”
เช่น If he left today, he would be there by Friday.
(= If he were to leave, he would be there by Friday.)
เพราะฉะนั้น Were he to leave today, he would be there by Friday.
► IF PAST PERFECT ,                        SUBJECT + WOULD HAVE V.3
    SUBJECT + HAD V.3
เสียดาย เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่มีวันกลับไปแก้ไขได้ ไม่เป็นจริงในอดีต “PAST UNREAL” เหตุการณ์ตรงข้ามกับความจริง
# ละ IF โดยเอากริยาช่วย HAD มาวางไว้ข้างหน้า
Had + Subject + V.3 , Subject + would have V.3
เช่น If I had studied harder, he would have passed the examination.
เพราะฉะนั้น Had I studied harder, he would have passed the examination.
อื่นๆ
► UNLESS = IF ____ NOT ____ = ถ้าไม่ ____
เพราะฉะนั้น UNLESS ห้ามตามด้วยประโยคปฏิเสธเด็ดขาด
Unless he drives carefully, he will have an accident.
= If he doesn’t drive carefully, he will have an accident.
► PROVIDED (THAT)____ , ____ = หากว่า ____
- ใช้เหมือน IF
► SUPPOSING (THAT)____, ____ = สมมติว่า ____
- ใช้เหมือน IF
- มักจะใช้แบบสมมติ “SUPPOSING (THAT) PAST SIMPLE, SUBJECT + WOULD V.1”
เช่น Supposing that you were a millionaire, what would you do?




เรามาลองทำแบบทดสอบกันเลยยย.........คลิกที่แบบฝึกหัดข้างล่างเลยจ๊า !!


                >>>>>แบบทดสอบ If - clause<<<<<<





วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

Used to / Would

used to 
             แปลว่า เคยทำในอดีตแต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้วครับ
โครงสร้างประโยคคือ used to + infinitive
ตัวอย่างนะครับ
When I was a postman , I used to walk miles every day.
ตอนฉันเป็นบุรุษไปรษณีย์นะ ฉันเคยเดินเป็นระยะทางหลายๆไมล์ทุกวัน

We used to play that game when we were young.
เราเคยเล่นเกมนั้นตอนเรายังเด็ก

used to smoke , but I have been giving it up for ten years.
ฉันเคยสูบบุหรี่นะ แต่เลิกได้เป็นสิบปีแล้ว
 .........................................................................................................................................................................................
แถมการใช้ be หรือ get used to  ครับ แปลว่าชิน หรือคุ้นเคยกับการทำบางสิ่ง
โครงสร้างมีดังนี้ครับ
be หรือ get + used to + กริยาเติม ing  หรือ คำนาม
มาดูตัวอย่างกันครับ
I am a postman, I am / get used to walking. I can walk miles.
ฉันเป็นบุรุษไปรษณีย์ ฉันชินกับการเดินแล้วล่ะ ฉันสามารถเดินเป็นไมล์ๆเลย

We’re used to getting up early. We do it every day.
เราชินกับการตื่นแต่เช้า เราทำแบบนี้ทุกวัน

She gets used to living alone.
หล่อนชินกับการอยู่คนเดียว

He was / got used to helping his neibours.
เขาคุ้นเคยกับการช่วยเหลือเพื่อนบ้าน (ช่วยเป็นประจำ)

We aren’t used to cooking.
เราไม่คุ้นเคยกับการทำอาหาร


Would 

          เป็นรูปอดีตของ will นะครับ แปลว่า จะ มีวิธีใช้ ดังนี้ครับ

1. ใช้ would เป็นรูปอดีตของ will ในประโยค Indirect Speech เช่น
Warmy said : ‘ The university will be closed on Monday.’
Warmy said that the university would be closed on Monday.

วอร์มมี่พูดว่า มหาวิทยาลัยจะปิดในวันจันทร์

She said : ‘ I will not study here any more.’
She said that she would not study here any more.
หล่อนพูดว่าหล่อนจะไม่เรียนที่นี่อีกต่อไป แล้ว

2. ใช้ would เพื่อแสดงความตั้งใจ หรือการกำหนดครับ เช่น

Warmy said he would visit his friends.
วอร์มมี่พูดว่า เขาจะไปเยี่ยมเพื่อนของเขา (ความตั้งใจ)

Warmy said he would try his best to help you.
วอร์มมี่พูดว่าจะพยายามช่วยคุณเต็มที่เลย (ความตั้งใจ)

Warmy would have his own way.
วอร์มมี่มีทางเดินเป็นของตนเอง (การกำหนด)

Warmy would apply for this position.
วอร์มมี่จะสมัครงานในตำแหน่งนี้ (การกำหนด)

3. ใช้ would เพื่อแสดงการกระทำเป็นประจำในอดีต หรือนิสัยในอดีตอ่าครับ เช่น

Warmy would sit there and write her note book.
วอร์มมี่มักจะนั่งที่ตรงนั้นแล้วเขียนบันท ึก

After lunch the students would sit in the classroom and chat for a while.
หลังทานอาหารเที่ยงแล้วนักเรียนกลุ่มนี้มั กจะนั่งในห้องเรียนแล้วคุยกันครู่หนึ่ง

Warmy would return home and watch TV daily.
วอรืมมี่มักจะกลับบ้านแล้วดูรายการทีวีทุก วัน

4. ใช้ would และ would like เพื่อเป็นการแสดงความประสงค์ครับ เช่น

Warmy would know what his duty is.
วอร์มมี่อยากรู้ว่างานของเขาคืออะไร

would like to see it later.
ผมจะดูภายหลังแล้วกัน

He would like to read the book first.
เขาต้องการอ่านหนังสือเป็นอันดับแรก

5. ใช้ would rather เพื่อแสดงทางเลือก หรือการชอบมากกว่าครับ เช่น

would rather die than marry him.
ให้ฉันตายดีกว่าแต่งงานกับเขา

Warmy would rather go out than stay at home.
ให้วอร์มมี่ไปข้างนอกดีกว่าให้อยู่บ้าน

6. ใช้ would เพื่อเป็นการถามคำถามแบบสุภาพครับ (polite questions) เช่น

Would you like a cup of tea?
รับชาสักถ้วยไหมครับ

Would you mind lending me your car for an hour?
คุณจะว่าอะไรไหมครับถ้าผมจะขอยืมรถของคุณส ักชั่วโมง

Would you mind typing the letter for me?
คุณจะว่าอะไรไหมครับถ้าผมจะขอให้พิมพ์จดหม ายให้สักฉบับ

7. ใช้ would ในประโยคหลัก ซึ่งวางอยู่หน้าหรือหลังประโยครอง  เพื่อเป็นการแสดงเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ค รับ เช่น

If Warmy studied hard, he would pass the test.
ถ้าวอร์มมี่เรียนหนักเขาคงสอบผ่านแล้ว

If I were a poet. I would express my feelings to you.
ถ้าฉันเป็นนักประพันธ์ ฉันคงอธิบายความรู้สึกของฉันให้เธอรู้แล้ว

Warmy would be punished if he wrote on the wall.
วอร์มมี่จะถูกลงโทษ ถ้าเขาเขียนบนกำแพง

8. ใช้ would วางไว้หลัง wish เพื่อแสดงความตั้งใจครับ เช่น

I wish I would know his address.
ผมหวังว่าจะรู้ที่อยู่ของเขา

Warmy wish he would visit Pai.
วอร์มมี่หวังว่าจะได้ไปเที่ยวปาย

การใช้ Should


การใช้  Should


 

การใช้ Should

A.         Should infinitive (should do should watch ฯลฯ) ดังนี้
            I/we/you/they/he/she/it             should                         do/stop/go/watch ฯลฯ                                                             

                                              shouldn’t
B.                  (Youshould do something = (คุณ)ควรทำอะไรบางอย่าง (= เป็นสิ่งดีหรือถูกต้องที่จะทำ)
เช่น  -     Tom should go to bed earlier. He goes to bed very late and he’s always tired.
-          It’s good film. You should go and see it.  …คุณควรไปดูนะ
C.         (You) shouldn’t do something = (คุณ)ไม่ควรทำอะไรบางอย่าง shouldn’t = should not เช่น  -         Tom shouldn’t go to bed so late. Tom ไม่ควรนอนดึก
-          You watch TV all the time. You shouldn’t watch TV so much.  …คุณไม่ควรดู
D.         เรามักใช้ think กับ should เช่น   
            I think  should … :
-          I think Kanda should buy some new clothes.
ฉันคิดว่ากานดาควรซื้อเสื้อผ้าใหม่ ๆ บ้าง
-          A: Shall I buy this dress?
B: Yes, I think you should.
            I don’t think  … should … :
-          don’t think you should work so hard.
ฉันไม่คิดว่าคุณควรทำงานหนักมากนัก
-          don’t think we should go yet. It’s to early.
Do you think … should … ?.
-          Do you think I should buy this hat?
-          What time do you think we should go home?
E.                  Must มีความหมายในเชิงแนะนำที่มีน้ำหนักกว่า should เช่น
-          It’s a good film. You should go and see it. หนังดีนะ คุณควรไปดู
-          It’s a fantastic film. You must go and see it. หนังเยี่ยมมาก คุณต้องไปดู
F.                  อีกคำหนึ่งที่ใช้ในความหมายเดียวกับ should … คือ ought to … เช่น
-          It’s a good film. You ought to go and see it. (= you should go)
-          I think Kanda ought to buy some new clothes. (=Kanda should buy)


Must กับ Have to


การเลือกใช้ ระหว่าง must กับ have to
Must หรือ have to

การใช้ must
1.must เป็นการสั่งความจำเป็นมาจากบุคคลที่กำลังพูดหรือกำลังฟัง เช่น

I must go home now. It's going to rain soon.
2.must เมื่อพูดถึงสิ่งที่เราแน่ใจ เช่น
      The boy keeps crying. He must be really sick.
3.Must สามารถใช้บอกความจำเป็นสำหรับเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคต แต่จะไม่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และจากที่ must ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย ทำให้สามารถใช้ Must มาขึ้นหน้าประโยคเพื่อตั้งเป็นประโยคคำถามได้เลย เช่น
        I must finish this work before I leave.
        Must you work so hard?
Must she go there before midnight?
4. must จะแปลว่าต้องทำเป็นหน้าที่หรือข้อบังคับ เช่น
      The soldiers must protect the country
5.must จะใช้กับปัจจุบันกาลอย่างเดียวเท่านั้น
ถ้าเป็นอดีตจะใช้ had to
และถ้าเป็นอนาคตจะใช้ will, shall + have to
6.เมื่อ จะใช้ must ในรูปประโยคปฏิเสธ ก็สามารถเติม not เข้าไปได้เลย ในกรณีนี้จะมีความหมายว่า ห้ามกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเด็ดขาด หรือทำแล้วอาจเกิดผลร้ายตามมา
mustn’t แปลว่า “ต้องไม่ “
7. mustn't ใช้บอกบุคคลไม่ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้
    You mustn't tell anyone. มีความหมายว่า (Don't tell anyone.)
8.กรณีจะกล่าวเรื่องราวในอดีต เรามักไม่ใช้ must แต่จะไช้ had to แทน
9. (modals) + have + V.3 สามารถใช้หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดในอดีต (ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้แล้ว บางที่จะเป็นการสมมติ) ที่สามารถใช้ร่วมกับ Modal verbs ได้หลายตัว


การใช้have to
1.have to พูดถึงความจำเป็นที่มาจากภายนอก บางทีอาจจะเพราะว่ากฎหมาย กฏระเบียบหรือเป็นข้อตกลงเช่น
You have to take off your shoes before going inside the temple.
2. have to ใช้กับกฏเกณ์หน้าที่และใช้กับพวกข้อบังคับ ที่ทำให้เราจำเป็นต้องทำ ตามกฎเกณ์ของสังคม เช่น
“ when you go to the theater you have to off your mobile เวลาคุณเข้าไปดูหนังในโรงภายนตร์คุณต้องปิดมือถือ (บางครั้งคุณอาจจะลืมปิดหรือตั้งใจไมปิด มือถือ ซึ่งก็ไม่ได้ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย แต่ในทางกฎ เกณฑ์ทางสังคึมนั้นคุณต้องปิด ถือเป็นมารยาททางสังคม (มีสังคมเป็นตัวบังคับให้คุณต้องทำ)
3. have to ถ้าทำเป็นปฏิเสธหรือคำถามต้องใช้ Verb to do เข้าช่วย
         - You do not have to buy a new bycicle.
         - Do you have to buy a new car?

การใช้ Used to


Used  to
Used to ถ้าตามด้วย กริยาช่องที่ 1 แปลว่า เคย (มีความหมายเป็นอดีต)
เช่น




I used to eat a lot .
ฉันเคยกินมาก




He used to teach me.
ตาเคยสอนฉัน


They used to fight to each other.
พวกเขาเคยตีกัน



Susan used to be a mailwoman.
ซูซานเคยส่งจดหมาย


Mary used to play games everyday.
แมรี่เคยเล่นเกมส์ทุกวัน


แต่ถ้าใช้ verb to be (is,am,are) กับ used to แล้วตามด้วย คำนาม หรือ กริยาเติม ing
จะแปลว่า "ชิน ,คุ้นเคย"

จะใช้ is หรือ am หรือ are ขึ้นอยู่กับประธาน หรืออาจใช้ get , become ก็ได้ เช่น




They get used to getting on the bus.
พวกเขาชินกับการขึ้นรถเมล์





The teacher is used to cold weather.

ครูชินกับอากาศเย็น




He is getting used to this dog.
เขากำลังคุ้นกับเจ้าสุนัขตัวนี้

I'm getting used to getting up early.
ผมกำลังชินกับการตื่นเช้า


Did you use to learn with me?
หนูเคยเรียนกับครูหรือเปล่า

Tense


Tense จริงๆแล้วมีเท่าไหร่

ถ้า Tense หมายถึงโครงสร้างของประโยค ภาษาอังกฤษ มี 12 รูปแบบ (Active Voice ประธานเป็นผู้กระทำ) และ 12 รูปแบบ (Passive Voice ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ) รวมเป็น 24 รูปแบบ  โอ้ตายแล้ว เยอะจัง เยอะสิครับ คนเลยคิดว่ามันยาก แล้วไม่ค่อยศึกษากันอย่างจริงจัง
ก่อนอื่นให้เรียนเรื่อง Tense ที่เป็น Active Voice ให้เข้าใจก่อนไปตามลำดับ เหมือนกับที่เราหัดอ่าน ก ไก่ ข ไข่ นั้นแหละ

อะไรคือความแตกต่างของแต่ละ Tense

สิงที่แตกต่างชัดเจนคือ กริยา

คำแปลของ Tense

คำแปลของแต่ละ Tense ต่อไปนี้ เมื่อนำมาแปลเป็นไทยจริงๆ จะต้องเกลาให้เป็นภาษาที่คนทั่วไปใช้กันนะครับ แต่ที่แปลแบบนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพแค่นั้นเอง

โครงสร้างของ Tense 12

ปัจจุบัน
  • Present Simple
    eat. กิน
  • Present Continuous
    am eating.  กำลังกิน
  • Present Perfect
    have eaten. กินแล้ว
  • Present Perfect Continuous
    have been eating. กินแล้ว (อย่างต่อเนื่อง)
อดีต
  • Past Simple
    ateได้กิน
  • Past Continuous
    was eating. ได้กำลังกิน
  • Past Perfect
    had eaten. ได้กินแล้ว
  • Past Perfect Continuous
    had been eating. ได้กินแล้ว (อย่างต่อเนื่อง)
อนาคต
  • Future Simple
    will eat. จะกิน
  • Future Continuous
    will be eating. จะกำลังกิน
  • Future Perfect
    will have eaten. จะกินแล้ว
  • Future Perfect Continuous
    will have been eating. จะกินแล้ว (อย่างต่อเนื่อง)

Verb of feeling

หลักการแปลคือน้องต้องรู้จักไวยากรณ์และประยุกต์ใช้มันเข้ากับประโยคได้ วันนี้พี่นุ้ยเลยอยากให้หลักแกรมม่่าเรื่องหนึ่งที่น้องน่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้
มาจากประโยค You (p’nui) may surprise มันจะไม่ได้แปลว่าพี่นุ้ยอาจจะรู้สึกตกใจ แต่จะแปลว่าพี่นุ้ยอาจจะทำให้ใครๆตกใจ

เพราะ surprise มันเป็นกริยาพิเศษที่แสดงความรู้สึก กริยาพวกนี้ เช่น interest (ทำให้สนใจ) สังเกตุเวลาแปล พี่นุ้ยจะใส่คำว่า ทำให้ interest ไม่ได้แปลว่าสนใจ หรือรู้สึกสนใจ และยังมี excite (ทำให้ตื่นเต้น) amaze (ทำให้ตะลึง) bore (ทำให้เบื่อ) annoy ที่เค้าพูดกันว่า นอย (ทำให้หงุดหงิด รำคาญ)

กริยาพวกนี้มีสามรูป
คือ
1. ing ใช้ ing เป็นadj แปลว่า น่า เช่น น่าสนใจ
The papers are interesting (หนังสือพิมพ์น่าสนใจ)

2. ใช้เป็น v.3 แปลว่า รู้สึก เช่น รู้สึกสนใจ
The papers are interesting, so Loong Lung is interested in digging the papers.
ลุงลังเลยสนใจคุ้ยหา นสพ.

เห็นมั้ย verb to be บวกกริยาช่องที่ 3 นึกถึง passive voice ประโยคถูกกระทำเอากรรมวางข้างหน้า จริงๆจะแปลว่า ลุงลังถูกทำให้สนใจ แปลจากไทยเป็นไทย คือลุงลังรู้สึกสนใจนั่นเอง แต่คำพวกนี้มันจะมี preposition ของมัน อย่าง interested ไปกับ in / surprised กับ with, at / bored กับ with

2. ใช้เป็นกริยาไปเลย interest ทำให้สนใจ
The papers in trash cans always interest Loong Lung.
นสพ. ในถังขยะทำให้ลุงลังสนใจอยู่เสมอ

ฉะนั้นถ้าน้องจะบอกว่า พี่นุ้ยอาจจะรู้สึกประหลาดใจ ก็จะต้องเป็น P’Nui may be surprisedใ
ใช้เป็น adj หลัง verb to be ค่ะ

สรุป พี่นุ้ยจะมีสูตรง่ายๆให้จำว่า ถ้าเป็น verb of feeling

รู้สึก– to be ted v.3
น่า –to be ting
แต่ถ้า ทำให้ – ไม่ ting ไม่ ted วางกริยาผัน tense ได้เลย